วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

PHP คืออะไร

PHP คืออะไร



       หลายคนที่ทำเว็บไซต์ด้วย HTML หรือโปรแกรมช่วยสร้างเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Dreamweaver แล้วอาจสงสัยว่าเมื่อทำ form สำหรับ รับค่าเช่น ชื่อ ที่อยู่ เสร็จแล้วจะเก็บค่ายังไง หรือจะทำอย่างไรต่อ หรือเว็บบอร์ดทำงานอย่างไร CMS ทำงานอย่างไร ทำไมบางเว็บไซต์สามารถโต้ตอบกับ ผู้ใช้งานได้ คำตอบของทุกคำถามคือ PHP ครับ


       PHP นั้นเป็นภาษาสำหรับใช้ในการเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ สามารถเขียนได้หลากหลายโปรแกรมเช่นเดียวกับภาษาทั่วไป อาจมีข้อสงสัยว่า ต่างจาก HTML อย่างไร คำตอบคือ HTML นั้นเป็นภาษาที่ใช้ในการจัดรูปแบบของเว็บไซต์ จัดตำแหน่งรูป จัดรูปแบบตัวอักษร หรือใส่สีสันให้กับ เว็บไซต์ของเรา แต่ PHP นั้นเป็นส่วนที่ใช้ในการคำนวน ประมวลผล เก็บค่า และทำตามคำสั่งต่างๆ อย่างเช่น รับค่าจากแบบ form ที่เราทำ รับค่าจากช่องคำตอบของเว็บบอร์ดและเก็บไว้เพื่อนำมาแสดงผลต่อไป แม้แต่กระทั่งใช้ในการเขียนCMS ยอดนิยมเช่น Drupal , Joomla พูดง่ายๆคือเว็บไซต์จะโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ต้องมีภาษา PHP ส่วน HTML หรือ Javascript ใช้เป็นเพียงแค่ตัวควบคุมการแสดงผลเท่านั้น


นอกจากภาษา PHP แล้วยังมีภาษาอื่นอีกหรือไม่
     คำตอบคือมีครับ เช่น ASP , JSP แต่ที่นิยมมาก คือ PHP เพราะเป็นภาษาที่สามารถศึกษาได้ง่าย ทำงานได้มีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในปัจจุบัน รวมทั้งมีชุมชนคนใช้งาน และคู่มือที่ ดีมาก และสำคัญสุดคือฟรีครับ การใช้งานภาษา PHP ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงได้


การจะเขียน PHP ต้องมีอะไรบ้าง
     อย่างที่บอกไปว่า PHP นั้นจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลดังนั้นการใช้งานเราจะต้องมี Web Server เพื่อให้ตัว PHP สามารถทำงานได้ ต่างจาก HTML งั้นจะทำอย่างไรถ้าเราไม่ได้เช่า Web Server เอาไว้จะใช้งาน PHP ไม่ได้หรือ คำตอบคือได้ครับ แต่เราจะต้องลงโปรแกรม ให้เครื่องที่เราใช้งานอยู่นั้นทำงานเหมือนกับ Web Server ซะก่อนซึ่งโปรแกรมนั้นชื่อว่า Apache ครับเป็นโปรแกรมฟรีเหมือนกัน นี่เป็นข้อดี ที่ทำให้ทุกคนรัก PHP ครับ หลังจากที่เราทำให้เครื่องของเรานั้นเหมือนกับ Web Server แล้วจะเก็บข้อมูลเว็บไซต์เช่น คำตอบของเว็บบอร์ด จะเก็บอย่างไร คำตอบคือต้องมีโปรแกรมฐานข้อมูลอีกตัวเข้ามาช่วยครับ ซึ่งโปรแกรมที่แนะนำคือ MySQL ครับฟรีอีกเช่นกัน ทั้งหมดสำหรับมือใหม่อาจ จะเริ่มลงโปรแกรมทั้งหมดนั้นยากนะครับ จึงมีโปรแกรมที่รวมทุกอย่าง เพื่อจำลองเครื่องของเราให้เป็น Web Server เลยสามารถลงได้ง่ายๆ ซึ่ง จะมีสอนในบทต่อไปนะครับ


การพัฒนาเว็บไซต์ด้วย PHP
     สำหรับผู้พัฒนาเว็บไซต์ด้วย PHP นั้นปรกติจะทำการจำลองเครื่องของตัวเองให้เป็น Web Server ระหว่างการพัฒนาเพื่อดูการทำงาน ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาครับ จากนั้นจึงจะอัพไฟล์ทั้งหมดลงใน Web Server จริงครับ ในส่วนของ Web Server นั้นทาง Hellomyweb ก็มีให้บริการอยู่นะครับ สนใจคลิกที่นี่ครับ ถามว่าเราจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้นทำงานได้เหมือนกับ Web server จริงได้หรือไม่ คำตอบคือได้ครับ แต่มันออกจะไม่คุ่มค่า ทางการเงินนะครับ เพราะเราต้องเสียค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมก็ต้องเปิดไว้ตลอดปิดไม่ได้ เวลาผู้ใช้งานจากภายนอกมาเรียกใช้ก็รองรับไม่ได้ไม่มาก ดังนั้นการเช่า Web Server ภายนอกจะคุ่มค่ามากกว่าครับ หากต้องการจะพัฒนาเว็บไซต์เพื่อใช้งานจริงๆ


***สำหรับคนที่มีข้อสงสัยหรือมีคำถามสามารถตั้งคำถามได้ที่ Webboard ของ Hellomyweb นะครับ ทางเรายินดีตอบทุกคำถามครับ สำหรับบทต่อไปจะพูดถึงโปรแกรมที่ทำการจำลองเว็บไซต์ของเราให้เป็น Web Server ครับ

ที่มา :http://www.hellomyweb.com/index.php/main/content/135

โครงสร้างของภาษา PHP

โครงสร้างของภาษา PHP

     ภาษา PHP มีลักษณะเป็น embedded script หมายความว่าเราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจร่วมกับคำสั่ง(Tag) ของ HTML ได้ และสร้างไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .php, .php3 หรือ .php4 ซึ่งไวยากรณ์ที่ใช้ใน PHP เป็นการนำรูปแบบของภาษาต่างๆ มารวมกันได้แก่ C, Perl และ Java ทำให้ผู้ใช้ที่มีพื้นฐานของภาษาเหล่านี้อยู่แล้วสามารถศึกษา และใช้งานภาษานี้ได้ไม่ยาก 
ตัวอย่างที่ 1
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
<html>
<head>
<title>Example 1 </title>
</head>
<body>

<?
   echo"Hi, I'm a PHP script!";
?>

</body>
</html>

     จากตัวอย่าง บรรทัดที่ 6 - 8 เป็นส่วนของสคริปต์ PHP ซึ่งเริ่มต้นด้วย <? ตามด้วยคำสั่งที่เรียกฟังก์ชั่นหรือข้อความ และปิดท้ายด้วย ?> สำหรับตัวอย่างนี้เป็นสคริปต์ที่แสดงข้อความว่า "Hi, I'm a PHP script" โดยใช้คำสั่ง echo ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงผลของภาษาสคริปต์ PHP ซึ่งจะแสดงผลดังนี้ 
 เราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจหนึ่งๆ โดยเปิดและปิดด้วยแท็ก(Tag) ของ PHP กี่ครั้งก็ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 2
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
<html>
<head>
<title>Example 1 </title>
</head>
<body>

<table border=1>
<tr>
<td>
<? echo"PHP script block 1"; ?></td>
<td>
<? echo"PHP script block 2 "; ?></td>
</tr>
</table>

<?
   echo"PHP script block 3 <br> ";
   echo date("ขณะนี้เวลา H:i น.");
?>

</body>
</html>

แสดงผลลัพธ์ 
ความสามารถของภาษา PHP
  • เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นแบบ Open source ผู้ใช้สามารถ Download และนำ Source code ของ PHP ไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • เป็นสคริปต์แบบ Server Side Script ดังนั้นจึงทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ไม่ส่งผลกับการทำงานของเครื่อง Client โดย PHP จะอ่านโค้ด และทำงานที่เซิร์ฟเวอร์ จากนั้นจึงส่งผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาที่เครื่องของผู้ใช้ในรูปแบบของ HTML ซึ่งโค้ดของ PHP นี้ผู้ใช้จะไม่สามารถมองเห็นได้
  • PHP สามารถทำงานได้ในระบบปฎิบัติการที่ต่างชนิดกัน เช่น Unix, Windows, Mac OS หรือ Risc OS อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก PHP เป็นสคริปต์ที่ต้องทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์สำหรับเรียกใช้คำสั่ง PHP จึงจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ไว้ด้วย เพื่อให้สามารถประมวลผล PHP ได้
  • PHP สามารถทำงานได้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์หลายชนิด เช่น Personal Web Server(PWS), Apache, OmniHttpd และ Internet Information Service(IIS) เป็นต้น
  • ภาษา PHP สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming)
  • PHP มีความสามารถในการทำงานร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งระบบจัดการฐานข้อมูลที่สนับสนุนการทำงานของ PHP เช่น Oracle, MySQL, FilePro, Solid, FrontBase, mSQL และ MS SQL เป็นต้น
  • PHP อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างเว็บไซต์ซึ่งทำงานผ่านโปรโตคอลชนิดต่างๆ ได้ เช่น LDAP, IMAP, SNMP, POP3 และ HTTP เป็นต้น
  • โค้ด PHP สามารถเขียน และอ่านในรูปแบบของ XML ได้
ที่มา :http://www.mwit.ac.th/~jeab/40201/ch3.php

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

IP Address คืออะไร

IP Address คืออะไร  

       IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP 
ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร 
       เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126 
       สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ  อย่างเช่น  Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ  โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ

    ตัวอย่าง IP Address
    Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
    Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
    Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx 

       จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer 2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน network วงเดียวกัน เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้ Network ID 1 byte) 

    วิธีตรวจสอบ IP Address
    1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run
    2.พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK
    3.จะได้หน้าต่างสีดำ
    4.พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter
    5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address 

ที่มา :http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2071-ip-address-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โครงสร้างคำสั่งของ HTML

โครงสร้างคำสั่งของ HTML



HTML

การใช้งาน 

    ในบทที่แล้วเราได้ลองเขียน HTML กันดูบ้างแล้ว ในบทนี้เราจะลงรายละเอียดคำสั่งของ HTML โดยการใช้งานหลักจะมีดังนี้

1. คำสั่ง หรือ Tag

            Tag เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง หรือการลงรหัสคำสั่ง HTML ภายในเครื่องหมาย less-than bracket ( < ) และ greater-than bracket ( > ) โดยที่ Tag HTML แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ

     Tag เดี่ยว     เป็น Tag ที่ไม่ต้องมีการปิดรหัส เช่น <HR>, <BR> เป็นต้น

     Tag เปิด/ปิด     รูปแบบของ tag นี้จะเป็นแบบ <tag> .... </tag> โดยที่

            <tag> เราเรียกว่า tag เปิด

            </tag> เราเรียกว่า tag ปิด

2. Attributes

            Attributes เป็นตัวบอกรายละเอียดของ tag นั้นเช่น <span align = 'left'> ... </span> เป็นการบอกว่าให้อักษรที่อยู่ใน tag นี้ชิดซ้าย

3. not case sensitive 

            หมายถึง คุณจะพิมพ์ <BR> หรือ <br> ก็ได้ ผลลัพธ์ออกมาไม่ต่างกัน



โครงสร้างของหลักของ HTML 

โครงสร้างหลักของ HTML ก็จะเริ่มด้วย <html> และจบด้วย </html> เสมอ ซึ่งชุดคำสั่งที่ใช้จะแยกเป็น 2 ส่วนคือ

        1. head คำสั่งที่อยู่ในส่วนนี้จะใช้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับ web page ซึ่งจะไม่แสดงผลที่ web page โดยตรง

        2. body คำสั่งที่อยู่ในส่วนนี้จะใช้ในการจัดรูปแบบตัวอักษร จัดหน้า ใส่รูปภาพ ซึ่งตัวอักษรในส่วนนี้จะแสดงที่ web brower โดยตรง


<html>

    <head>

             คำสั่งในหัวข้อของ head

    </head>

    <body>

             คำสั่งในหัวข้อของ body ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใช้แสดงผล

    </body>

</html>


1. คำสั่งในหัวข้อของ head (Head Section)

Head Section เป็นส่วนที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับข้อมูลเฉพาะของหน้าเว็บนั้นๆ เช่น ชื่อเรื่องของหน้าเว็บ (Title), ชื่อผู้จัดทำเว็บ (Author), คีย์เวิร์ดสำหรับการค้นหา (Keyword) โดยมี Tag สำคัญ คือ


<HEAD>

            <TITLE>ข้อความอธิบายชื่อเรื่องของเว็บ</TITLE>

            <META HTTP-EQUIV="Content-Type" CONTENT="text/html; charset=utf-8">

            <META NAME="Author" CONTENT="ชื่อผู้พัฒนาเว็บ">

            <META NAME="KeyWords" CONTENT="ข้อความ 1, ข้อความ 2 ">

</HEAD>


TITLE

    ข้อความที่ใช้เป็น TITLE ไม่ควรพิมพ์เกิน 64 ตัวอักษร, ไม่ต้องใส่ลักษณะพิเศษ เช่น ตัวหนา, เอียง หรือสี โดยข้อความในส่วนนี้จะแสดงผลใน title bar ของ web browser

META

    Tag META จะไม่ปรากฏผลบนเบราเซอร์ แต่จะเป็นส่วนสำคัญ ในการจัดอันดับบัญชีเว็บ สำหรับผู้ให้บริการสืบค้นเว็บ (Search Engine เช่น google , yahoo)

    charset=TIS-620 ใช้บอกว่าใช้ชุดตัวอักษรแบบใดในการแสดงผล ภาษาไทยเราใช้ charset=TIS-620 หรืออาจเป็น charset=windows-874 ก็ได้ ตอนนี้แนะนำให้ใช้เป็น charset=utf-8 

     keyword ดังภาพด้านบนจะเห็นว่าเราสามารถใช่ keywords มากกว่า 1 คำได้โดยใช้เครื่องหมาย (,) ในการคั่นระหว่างคำ

    การพิมพ์ชุดคำสั่ง HTML สามารถพิมพ์ได้ทั้งตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ หรือผสม การย่อหน้า เว้นบรรทัด หรือช่องว่าง สามารถกระทำได้อิสระ โปรแกรมเบราเซอร์จะไม่สนใจเกี่ยวกับระยะเว้นบรรทัดหรือย่อหน้า หรือช่องว่าง



2. คำสั่งในส่วนของ (Body Section)

        Body Section เป็นส่วนเนื้อหาหลักของหน้าเว็บ ซึ่งการแสดงผลจะต้องใช้ Tag จำนวนมาก ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล เช่น ข้อความ, รูปภาพ, เสียง, วีดิโอ หรือไฟล์ต่างๆ

        ส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ เป็นส่วนการทำงานหลักของหน้าเว็บ ประกอบด้วย Tag มากมายตามลักษณะของข้อมูล ที่ต้องการนำเสนอ การป้อนคำสั่งในส่วนนี้ ไม่มีข้อจำกัดสามารถป้อนติดกัน หรือ 1 บรรทัดต่อ 1 คำสั่งก็ได้ แต่มักจะยึดรูปแบบที่อ่านง่าย คือ การทำย่อหน้าในชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้ให้ป้อนคำสั่งทั้งหมดภายใต้ Tag <BODY> </BODY> และแบ่งกลุ่มคำสั่งได้ดังนี้

กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการจัดรูปแบบเอกสาร

กลุ่มคำสั่งจัดแต่ง/ควบคุมรูปแบบตัวอักษร

กลุ่มคำสั่งการทำเอกสารแบบรายการ (List)

กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการทำลิงค์

กลุ่มคำสั่งจัดการรูปภาพ

กลุ่มคำสั่งจัดการตาราง (Table)

กลุ่มคำสั่งควบคุมเฟรม

กลุ่มคำสั่งอื่นๆ

ที่มา :www.hellomyweb.com/index.php/main/vote/12

HTML คืออะไร

HTML คือ ภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผล HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language โดย Hypertext หมายถึง ข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup language หมายถึงภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนเว็บเพจ ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลเว็บเพจที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน Hyperspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง
     ความเป็นมาของ HTML เริ่มขึ้นเมื่อปี 1980 เมื่อ Tim Berners Lee เสนอต้นแบบสำหรับนักวิจัยใน CERN เพื่อแลกเปลี่ยนเอกสาร ข้อมูลด้านการวิจัย โดยใช้ชื่อว่า Enquire ในปี 1990 เค้าได้เขียนโปรแกรมเบราเซอร์ และทดลองรันบนเซิฟเวอร์ที่เค้าพัฒนาขึ้น HTML ได้รับการรู้จักจาก HTML Tag ซึ่งมีอยู่ 18 Tag ในปี 1991 
HTML ถูกพัฒนาจาก SGML และ Tim ก็คิดเสมือนว่า HTML เป็นโปรแกรมย่อยของ SGML อยู่ในตอนนั้น ต่อมาในปี 1996 เพื่อกำหนดมาตรฐานให้ตรงกัน W3C World Wide Web Consortium จึงเป็นผู้กำหนดสเปกทั้งหมดของ HTML และปี 1999 HTML 4.01 ก็ถือกำเนิดขึ้น โดยมี HTML 5 ซึ่งเป็น Web Hypertext Application ถูกพัฒนาต่อมาในปี 2004 นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาไปเป็น XHTML ซึ่ง คือ Extended HTML ซึ่งมีความสามารถและมาตรฐานที่รัดกุมกว่าอีกด้วย โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของ W3C (World Wide Web Consortium)

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (domain name) คืออะไร

ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (domain name) คืออะไร

โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่าย
ทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันทีโดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร
โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ
ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท  1.  โดเมน 2 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน  2.  โดเมน 3 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ

โดนเมนเนม 2 ระดับจะประกอบด้วย  www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.comประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้
    * .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์    * .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร    * .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย    * .edu คือ สถาบันการศึกษา    * .gov คือ องค์กรของรัฐบาล    * .mil คือ องค์กรทางทหาร 
โดนเมนเนม 3 ระดับ  จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ
    * .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์    * .ac คือ สถาบันการศึกษา    * .go คือ องค์กรของรัฐบาล    * .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย    * .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
    * .th   คือ ประเทศไทย    * .cn  คือ ประเทศจีน    * .uk  คือ ประเทศอังกฤษ    * .jp   คือ ประเทศญี่ปุ่น    * .au  คือ ประเทศออสเตรเลีย 

โดนเมนเนม ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่มองข้ามไม่ได้เลยสำหรับเว็บไซต์นั้นๆ โดยเฉพาะกับการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ท ถ้าได้ชื่อที่เฉพาะเจาะจง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้วนั้น จะทำให้โดเมนเนม หรือ เว็บไซต์นั้นๆ จะได้รับความสนใจและเป็นที่จดจำได้ง่ายไม่ใช่กับผู้เข้าชมหรือกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านโดมเนมเท่านั้นยังรวมไปถึง Search Engine ชื่อดังต่างๆ เช่น Google Yahoo MSN เป็นต้น ที่จะเข้ามาแวะเวียนเข้ามาทำ index กับเว็บเพจหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ของเรา
หลังจากจดโดนเมนเนมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญลำดับถัดมานั้นก็คือ โฮสติ้ง (Hosting) หรือ ที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเรานั้นเอง ซึ่งโฮสติ้งแต่ละที่จะมี DNS หรือ Name Server ที่ทางผู้ให้บริการโฮสติ้ง จะเป็นคนกำหนดและแจ้งให้เราทราบเพื่อเอาไปใส่ให้โดมเมเนมของเราเช่น DNS ของ B2C Creation จะมีชื่อว่า NS1.B2CCREATION.COM และ NS2.B2CCREATION.COM ซึ่งคุณไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้เพราะถ้าคุณจด Domain Nameและใช้บริการโฮสติ้งกับผู้ให้บริการคนเดียวกันจะไม่มีปัญหาอะไรเลยครับ หรือแม้ว่าจะเป็นคนละคนกัน เพียงแค่นำ DNS ที่ได้ ไประบุให้กับโดเมนเนมนั้นตามที่ได้อธิบายไปแล้ว
- See more at: http://www.b2ccreation.com/content/knowledgebase/kb_view.asp?kbid=19#sthash.yPfPA0eF.dpuf

ที่มา : www.b2ccreation.com/content/knowledgebase/kb_view.asp?kbid=19

Domain Name คืออะไร

Domain Name คืออะไร



Domain Name (โดเมน) คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ "ชื่อเว็บไซต์" คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป


Sub Domain คืออะไร



Sub Domain ( ซับโดเมน ) คือ เว็บย่อยของเว็บไซต์ของเราอีกที โดยปกติถ้ามี Domain (โดเมน) ชื่อ www.gict.co.th เราจะเข้าชมเว็บไซต์ของเราโดยพิมพ์ www.gict.co.th แต่หากเราต้องเข้าชมเว็บย่อยของเราจะต้องพิมพ์ http://domain.gict.co.th มีประโยชน์สำหรับท่านที่มีธุรกิจหลายประเภท เป็นการจำแนกแยกแยะหมวดหมู่ธุรกิจ


ข้อควรรู้ก่อนจดโดเมน


  1. ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
  2. Domain ต้องจดในชื่อของคุณเท่านั้น Domain Ownership
  3. ถ้าเป็น Domain ของบริษัท พยายามจดภายใต้ชื่อบริษัท อย่าจดด้วยชื่อพนักงาน IT
  4. ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
  5. ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับคุณตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับคุณ เรียกว่า Registrant E-Mail
  6. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของคุณไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่น ๆ


อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมน


  • ชื่อ Domain สามารถใช้ ตัวอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) ได้
  • ชื่อ Domain โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข
  • ชื่อ Domain มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร
  • ชื่อ Domain ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
  • ชื่อ Domain ต้องไม่ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยเครื่องหมาย - และต้องไม่มี Space


หลัการตั้งชื่อโดเมน ภาษาไทย

  1. ชื่อ Domain จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์ และสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์
  2. ชื่อ Domain จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือองค์กรหนึ่งองค์กรใด
  3. ชื่อ Domain จะต้องไม่เป็นชื่อต่าง ๆ ของประเทศไทย จังหวัด รวมถึงสถานที่อันเป็นสาธารณะต่าง ๆ ในประเทศ
  4. ชื่อ Domain จะต้องไม่ประกอบด้วยคำหยาบหรือคำที่ผิดต่อศีลธรรมอันดีงามของไทย
  5. ชื่อ Domain จะต้องมีความสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดกับชื่อโดเมนภาษาอังกฤษที่อ้างอิงดังนี้


- อ่านออกเสียงได้ตรงกัน
- มีความหมายตรงกัน

การจดทะเบียนโดเมนเนม

การจดทะเบียนโดเมนเนม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  1. การจดทะเบียนโดเมนเนมภายในประเทศ

  2. การจดทะเบียนโดเมนเนมภายในประเทศจะได้นามสกุล โดเมน เป็น .จดโดเมน .co.th, .or.th, .ac.th, in.th เช่นนามสกุล ".CO.TH" มีคนจดมากกว่าชนิดอื่นๆ เป็นเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป การจดทะเบียนชื่อโดเมน ต้องเป็นชื่อเดียวกับชื่อบริษัท หรือชื่อย่อของชื่อบริษัท ซึ่งจดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้นการจดทะเบียนจึงต้องใช้สำเนาใบทะเบียนการค้า หรือสำเนาใบรับรอง หรือสำเนาใบ ภ.พ. 20 เป็นหลักฐาน

    • โดเมน นามสกุล .OR.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององกร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
    • โดเมน นามสกุล .AC.TH เป็นเวบไซตืของสถานศุกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆ หรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน
    • โดเมน นามสกุล .IN.TH เป็นเวบไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
    • โดเมน นามสกุล .GO.TH เป็นเวบไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่
    • โดเมน นามสกุล NET.TH เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับบริษัทที่เกียวกับระบบ Network หรือ ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) ในประเทศไทย

    การจดทะเบียนโดเมนเนมภายในประเทศ มีกฏระเบียบมาก ต้องจดทะเบียนโดเมนเนม แบ่งประเภทตามที่เขาแบ่งไว้ จึงจดทะเบียนโดเมนเนม ได้ยากกว่าการจดทะเบียนโดเมนเนม ต่างประเทศ ปัจจุบันการจดทะเบียนโดเมนเนม ภายในประเทศ ยังถือว่ามีน้อยมาก เนื่องจากการจดทะเบียนโดเมนเนม มีข้อยุ่งยากดังที่กล่าวข้างต้น และมูลค่าของเว็บไซต์มักจะถูกมองว่ามีค่าน้อยกว่าการจดทะเบียนโดเมนเนม ที่มีนามสกุลเป็น".COM" กับศูนย์จดทะเบียนโดเมนเนม ต่างประเทศ ทั้งๆ ที่มีความสามารถเหมือนกัน

  3. การจดทะเบียนโดเมนเนมต่างประเทศ

  4. การจดทะเบียนโดเมนเนมต่างประเทศจะได้นามสกุล โดเมน เป็น .COM .NET .ORG

    • โดเมน นามสกุล .COM ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
    • โดเมน นามสกุล .NET ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเตอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
    • โดเมน นามสกุล .ORG ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย

    • ปัจจุบันได้เกิด โดเมน ชนิดอื่นขึ้นอีกมากมาย เนื่องจากว่ามีการพยายามแบ่งประเภทเว็บไซต์ออกไป และขณะเดียวกันชื่อ โดเมน ก็เหลือน้อยลง ดังมีรายละเอียดดังนี้

    • โดเมน นามสกุล .cc เป็น โดเมน ที่คาดว่าน่าจะมีความนิยมทัดเทียมกับ .com ในเวลาอันใกล้นี้เนื่องจาก .com แทบจะไม่มีชื่อดีๆ เหลืออยู่แล้ว การนำไปใช้งานสามารถนำไปใช้กับเว็บไซต์ธุรกิจโดยทั่วไปได้
    • โดเมน นามสกุล .biz สำหรับเว็บไซต์ธุรกิจโดยทั่วไป เป็น โดเมน น้องใหม่ พึงเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มธุรกิจที่เป็น ธุรกิจจริงๆ ซึ่งก็ได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักค่อนข้างเร็ว
    • โดเมน นามสกุล .info ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่ให้รายละเอียดเกียวกับข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลของประเทศต่างๆ เป็นต้น
    • โดเมน นามสกุล .ws เป็นชนิดของชื่อเว็บไซต์หนึ่งที่พยามยามสร้างขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับ .cc การนำไปใช้งานสามารถนำไปใช้ได้กับทุประเภทเว็บไซต์
    • โดเมน นามสกุล .tv เป็นเว็บไซต์ของสื่อโฆษณาต่างๆ โดยเฉพาะสื่อทางด้านภาพและเสียง ปัจจุบันค่อนข้างได้รับความนิยมจากเว็บไซต์ประเภทสื่อพอสมควร

    แม้ว่าปัจจุบันจะมีโดเมนถูกนำเสนอออกมาหลายประเภท หลายชนิดก็ตาม แต่ .com .net และ .org ก็ยังถือว่าเป็นโดเมนมาตราฐานสากล ที่ได้รับความนิยมและยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก

    ที่มา : www.dotregis.com/domain-name-is.php